ปีพ.ศ. 2512 หลวงปู่สงฆ์ได้มีการประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นสายพระปฏิบัติ โดยมีหลวงปู่บุดดา หลวงปู่เกลื่อน หลวงปู่สังวาลย์ โดยหลวงปูสงฆ์ดำริจะสร้างพระพุทธรูปเกศแก้วจุฬามณีในขณะนั้นตาของหลวงปู่ไม่สามารถมองเห็นได้ ที่หลวงปู่นิมิตเห็นว่าพระพุทธรูปเกศแก้วจุฬามณีซึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ให้มาประดิษฐานที่เขาภูคา
เพื่อที่จะตอบแทนพระคุณให้กับสถานที่ ที่ได้บรรลุธรรม หลังจากที่การประชุมสงฆ์กันแล้ว หลวงปู่สงฆ์จึงได้มอบหมายให้หลวงปู่บุดดา และหลวงปู่สังวาลหาพระที่มีบารมี มีความสามารถที่จะสร้างพระให้สำเร็จได้ไปดำเนินการสร้าง เมื่อพิจารณาแล้วหลวงปู่สังวาลย์จึงได้เลือกพระครูพลอย ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่สังวาลย์ หลวงปู่ได้ส่งพระครูพลอย แม่ชีผวน พระเงิน(ลาสิกขาแล้ว) มาสำรวจพื้นที่ที่ถ้ำเขาภูคา หลังจากสำรวจบนยอดเขาที่จะสร้างพระเกศแก้วจุฬามณีแล้ว บนยอดเขาสูงและยังอยู่ใกล้สนามบินกองบิน 4 ตาคลี จึงต้องดำเนินการขออนุญาตทางราชการทหาร ฝ่ายปกครองทางอำเภอในการก่อสร้าง การขออนุญาตแต่ละครั้งนั้นผู้ที่ติดต่อประสานงานและเป็นธุระนั้นเป็นหน้าที่ของ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ บุตรปรารมภ์ การดำเนินการครั้งที่ 1 ไม่มีใครมีอำนาจจะอนุญาตให้สร้างพระพุทธรูปได้เลย ความตั้งใจเหมือนว่าจะสูญสลาย แต่ผู้ใหญ่ก็มิได้ละความพยายาม ที่จะสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี จึงกลับมาปรึกษาหารือกับท่านพระครูพลอยอีกครั้งหนึ่ง และดำเนินการวาดโครงสร้างโดยให้พระครูพลอยเป็นผู้วาดภาพ เมื่อวาดเสร็จก็ได้นำกลับไปให้หลวงปู่สงฆ์ได้พิจารณาดู(ด้วยตาใน) ภาพวาดในครั้งแรก ที่พระครูวาดไปนั้นหลวงปู่ดูแล้วว่าจะไม่ตรงกับภาพนิมิตที่หลวงปู่ได้เห็น จึงต้องนำกลับมาแก้ไขใหม่เป็นอย่างนี้ถึงสามครั้งจึงได้ภาพพระเกศแก้วจุฬามณีตามความประสงค์ของหลวงปู่สงฆ์
ส่วนในการสร้างพระพุทธรูปนั้นจะต้องหันพระพักตร์ไปด้านทิศตะวันออกเสมอ แต่หลวงปู่สงฆ์ได้พิจารณาทั้งสถานที่ที่อยู่บนยอดเขาภูคาอย่างชัดเจนแล้วว่า สมควรที่จะให้หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้เพื่อที่จะให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาได้ทุกสารทิศ แม้นว่าความสูงจะกีดขวางทางการบิน ก็ยังให้ทุกคนที่อยู่บนเครื่องบินนั้นได้กราบไหว้ หลวงปู่สงฆ์ได้มอบหมายให้พระครูพลอย พระเงิน แม่ชีผวน ผู้ใหญ่สมศักดิ์ โดยมีคำบัญชาเหมือนกับการให้พรให้กำลังใจ กับคณะผู้สร้างว่า "โยม ต้องเป็นเหล็กกล้า เป็นหินชา ไม่หวั่นไหวกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น) หลังจากที่หลวงปู่ให้พรแล้วแล้ว ผู้ใหญ่สมศักดิ์กราบเรียนถามหลวงปู่ว่า "ถ้าสร้างพระเกศแก้วมณีแล้ว เมื่อไหร่จะสำเร็จครับ" หลวงปู่ตอบว่า "7 วัน 7 เดือน 7 ปี ก็ต้องแล้วเสร็จ"
เมื่อได้รับคำบัญชาหรือคำให้พรจากหลวงปู่แล้ว คณะได้กลับมาดำเนินการปรับพื้นที่บนยอกดเขาภูคาโดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ แม้ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างพระเกศแก้วจุฬามณีเลย เมื่อปรับพื้นที่บนยอดเขาแล้วคณะก็ได้กลับไปกลับเรียนรายงานกับหลวงปู่ ครั้งนี้ได้รับปัจจัยบริจาคเป็นครั้งแรกเพื่อทำการก่อสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท จากอุบสิกา หม่อมหลวงเพ็ญศรี (ไม่ทราบนามสกุล) โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาตาคลี เมื่อได้ปัจจัยในการบริจาคจากหม่อมหลวงเพ็ญศรี ทางวัดจึงได้นำไปซื้อเหล็กเส้นที่ร้านกิจไพศาลในตลาด อำเภอตาคลี แต่ไม่มีถนนที่จะขนวัสดุอุปกรณ์มายังวัดเขาภูคาได้เลย (เพราะนั้นสมันนั้น มีแต่ทางเกวียน ถ้าวัดระยะทางจากตลาดตาคลี มายังวัดเขาภูคาก็ประมาณ 22 กิโลเมตร) ทางคณะผู้ดำเนินการก่อสร้างจึงได้ประชุมกันกับชาวบ้านเพื่อรวบรวมเกวียน วัว ควาย ม้า และคน เพื่อที่จะไปช่วยกันขนวัสดุอุปกรณ์จากตลาดตาคลีมาวัดเขาภูคา
จากการที่คณะผู้ก่อสร้างได้เจอปัญหาใหญ่หลวงนัก จึงได้เดินทางกลับมาที่วัดอาวุธดุสิตดาราราม ที่กรุงเทพมหานครที่หลวงปู่อยู่เพื่อถวายรายงานอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่บัญชาว่า "โยมกลับไปครั้งนี้ทางก็จะมาแล้ว ไม่ต้องให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อนหรอก" หลังจากคำบัญชาของหลวงปู่เพียง 2 วัน ความอัศจรรย์ก็เกิดขึ้น ทางกองบิน 4 ได้นำรถเกรดเตอร์ทำถนนเข้าวัดเขาภูคาเพื่อที่จะส่งทหารลาดตะเวนมาประจำการที่เขาภูคา (ยุคนั้นเป็นคอมมิวนิสต์แทรกซึม) เพื่อดูแลความสงบของชาวบ้าน
ปัจจัย 20,000 บาท ที่ทางวัดได้รับจากอุบาสิกาหม่อมเพ็ญศรีนั้นถือว่าเป็นมหากุศลอีกทั้งยังได้รับความศรัทธาจากทางหน่วยงานราชการมาร่วมใจกันสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี โดยที่พระครูพลอยนั้นได้ทำหนังสือขอความร่วมมือส่งไปยังผู้การกองบิน 4 เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการขอกำลังพล ยานพาหนะ อุปกรณ์เครื่องปั่นไฟฯลฯ เพื่อก่อสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี ทุกอย่างนี้ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากทางกองบิน 4 ตลอดจนแล้วเสร็จ
เพื่อที่จะตอบแทนพระคุณให้กับสถานที่ ที่ได้บรรลุธรรม หลังจากที่การประชุมสงฆ์กันแล้ว หลวงปู่สงฆ์จึงได้มอบหมายให้หลวงปู่บุดดา และหลวงปู่สังวาลหาพระที่มีบารมี มีความสามารถที่จะสร้างพระให้สำเร็จได้ไปดำเนินการสร้าง เมื่อพิจารณาแล้วหลวงปู่สังวาลย์จึงได้เลือกพระครูพลอย ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่สังวาลย์ หลวงปู่ได้ส่งพระครูพลอย แม่ชีผวน พระเงิน(ลาสิกขาแล้ว) มาสำรวจพื้นที่ที่ถ้ำเขาภูคา หลังจากสำรวจบนยอดเขาที่จะสร้างพระเกศแก้วจุฬามณีแล้ว บนยอดเขาสูงและยังอยู่ใกล้สนามบินกองบิน 4 ตาคลี จึงต้องดำเนินการขออนุญาตทางราชการทหาร ฝ่ายปกครองทางอำเภอในการก่อสร้าง การขออนุญาตแต่ละครั้งนั้นผู้ที่ติดต่อประสานงานและเป็นธุระนั้นเป็นหน้าที่ของ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ บุตรปรารมภ์ การดำเนินการครั้งที่ 1 ไม่มีใครมีอำนาจจะอนุญาตให้สร้างพระพุทธรูปได้เลย ความตั้งใจเหมือนว่าจะสูญสลาย แต่ผู้ใหญ่ก็มิได้ละความพยายาม ที่จะสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี จึงกลับมาปรึกษาหารือกับท่านพระครูพลอยอีกครั้งหนึ่ง และดำเนินการวาดโครงสร้างโดยให้พระครูพลอยเป็นผู้วาดภาพ เมื่อวาดเสร็จก็ได้นำกลับไปให้หลวงปู่สงฆ์ได้พิจารณาดู(ด้วยตาใน) ภาพวาดในครั้งแรก ที่พระครูวาดไปนั้นหลวงปู่ดูแล้วว่าจะไม่ตรงกับภาพนิมิตที่หลวงปู่ได้เห็น จึงต้องนำกลับมาแก้ไขใหม่เป็นอย่างนี้ถึงสามครั้งจึงได้ภาพพระเกศแก้วจุฬามณีตามความประสงค์ของหลวงปู่สงฆ์
ส่วนในการสร้างพระพุทธรูปนั้นจะต้องหันพระพักตร์ไปด้านทิศตะวันออกเสมอ แต่หลวงปู่สงฆ์ได้พิจารณาทั้งสถานที่ที่อยู่บนยอดเขาภูคาอย่างชัดเจนแล้วว่า สมควรที่จะให้หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้เพื่อที่จะให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาได้ทุกสารทิศ แม้นว่าความสูงจะกีดขวางทางการบิน ก็ยังให้ทุกคนที่อยู่บนเครื่องบินนั้นได้กราบไหว้ หลวงปู่สงฆ์ได้มอบหมายให้พระครูพลอย พระเงิน แม่ชีผวน ผู้ใหญ่สมศักดิ์ โดยมีคำบัญชาเหมือนกับการให้พรให้กำลังใจ กับคณะผู้สร้างว่า "โยม ต้องเป็นเหล็กกล้า เป็นหินชา ไม่หวั่นไหวกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น) หลังจากที่หลวงปู่ให้พรแล้วแล้ว ผู้ใหญ่สมศักดิ์กราบเรียนถามหลวงปู่ว่า "ถ้าสร้างพระเกศแก้วมณีแล้ว เมื่อไหร่จะสำเร็จครับ" หลวงปู่ตอบว่า "7 วัน 7 เดือน 7 ปี ก็ต้องแล้วเสร็จ"
เมื่อได้รับคำบัญชาหรือคำให้พรจากหลวงปู่แล้ว คณะได้กลับมาดำเนินการปรับพื้นที่บนยอกดเขาภูคาโดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ แม้ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างพระเกศแก้วจุฬามณีเลย เมื่อปรับพื้นที่บนยอดเขาแล้วคณะก็ได้กลับไปกลับเรียนรายงานกับหลวงปู่ ครั้งนี้ได้รับปัจจัยบริจาคเป็นครั้งแรกเพื่อทำการก่อสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท จากอุบสิกา หม่อมหลวงเพ็ญศรี (ไม่ทราบนามสกุล) โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาตาคลี เมื่อได้ปัจจัยในการบริจาคจากหม่อมหลวงเพ็ญศรี ทางวัดจึงได้นำไปซื้อเหล็กเส้นที่ร้านกิจไพศาลในตลาด อำเภอตาคลี แต่ไม่มีถนนที่จะขนวัสดุอุปกรณ์มายังวัดเขาภูคาได้เลย (เพราะนั้นสมันนั้น มีแต่ทางเกวียน ถ้าวัดระยะทางจากตลาดตาคลี มายังวัดเขาภูคาก็ประมาณ 22 กิโลเมตร) ทางคณะผู้ดำเนินการก่อสร้างจึงได้ประชุมกันกับชาวบ้านเพื่อรวบรวมเกวียน วัว ควาย ม้า และคน เพื่อที่จะไปช่วยกันขนวัสดุอุปกรณ์จากตลาดตาคลีมาวัดเขาภูคา
จากการที่คณะผู้ก่อสร้างได้เจอปัญหาใหญ่หลวงนัก จึงได้เดินทางกลับมาที่วัดอาวุธดุสิตดาราราม ที่กรุงเทพมหานครที่หลวงปู่อยู่เพื่อถวายรายงานอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่บัญชาว่า "โยมกลับไปครั้งนี้ทางก็จะมาแล้ว ไม่ต้องให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อนหรอก" หลังจากคำบัญชาของหลวงปู่เพียง 2 วัน ความอัศจรรย์ก็เกิดขึ้น ทางกองบิน 4 ได้นำรถเกรดเตอร์ทำถนนเข้าวัดเขาภูคาเพื่อที่จะส่งทหารลาดตะเวนมาประจำการที่เขาภูคา (ยุคนั้นเป็นคอมมิวนิสต์แทรกซึม) เพื่อดูแลความสงบของชาวบ้าน
ปัจจัย 20,000 บาท ที่ทางวัดได้รับจากอุบาสิกาหม่อมเพ็ญศรีนั้นถือว่าเป็นมหากุศลอีกทั้งยังได้รับความศรัทธาจากทางหน่วยงานราชการมาร่วมใจกันสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี โดยที่พระครูพลอยนั้นได้ทำหนังสือขอความร่วมมือส่งไปยังผู้การกองบิน 4 เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการขอกำลังพล ยานพาหนะ อุปกรณ์เครื่องปั่นไฟฯลฯ เพื่อก่อสร้างพระเกศแก้วจุฬามณี ทุกอย่างนี้ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากทางกองบิน 4 ตลอดจนแล้วเสร็จ