วันหนึ่งได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง(หลวงปู่สงฆ์) เดินทางมาถึง ณ ถ้ำแห่งนี้ ท่านได้เห็นว่าภูเขาลูกนี้มีถ้ำและป่าที่สงบ
สงบ มีบ้านชาวบ้านอยู่รอบๆก็น้อย ท่านว่าเหมาะที่จะเป็นที่ปฏิบัติภาวนาจึงเลือกจะอยู่ที่นี้ เมื่อตาเห็นพระธุดงค์มาอยู่ที่ถ้ำนี้ก็บอกชาวบ้านมากราบไหว้ ชาวบ้านพอรู้ว่ามีพระธุดงค์มาปฏิบัติภาวนาที่ถ้ำแห่งนี้ก็นำอาหารมาทำบุญตักบาตร นำดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้ เช่น ต้นจำปา(ต้นลั่นทม) ซึ่งอยู่หน้าถ้ำปัจจุบันก็มีชาวบ้านนำมาบูชาแล้วก็ปักไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่ามีพระปฏิบัติอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ตาศีลาได้ปวารณากับหลวงปู่เพื่อคอยดูแล และปฏิบัติตลอดที่หลวงปู่ปฏิบัติธรรมอยู่ในถ้ำนี้ ภายในถ้ำหลวงปู่ได้เลือกชั้นที่ 2 เป็นที่นั่งวิปัสสนาตลอดทั้งวัน เมื่อตกตอนเย็นหลวงปู่จะออกมาเดินจงกลมบริเวณหน้าถ้ำ ตอนที่หลวงปู่เดินนั้นก็จะมีนกยูงมาลำแพนอยู่ตลอด
ต่อมาหลวงปู่บุดดา ถาวโร ก็ได้เดินธุดงค์ตามหาหลวงปู่สงฆ์ แล้วมาพบกันยังถ้าภูคาแห่งนี้ หลวงปู่บุดดาได้เลือกชั้นที่ 1 ภายในถ้ำเป็นที่นั่งวิปัสสนา เมื่อหลวงปู่ทั้งสอง รูปมาพบกันแล้วท่านก็ทำความเพียรตลอด วันพระท่านก็มาโปรดญาติโยมที่มาทำบุญในถ้ำ หลวงปู่อยู่ปฏิบัติภาวนาอยู่ที่ถ้ำภูคาประมาณ 2 ปี วันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่ทั้งสอง ทำความเพียรอยู่นั้น ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นก็ได้ยินเสียงดังกึกก้องอยู่บนเขาเหมือนกับเป็นเสียงตอบโต้กันไปมาอยู่พักใหญ่ แล้วก็เห็นแสงสว่างสาดส่องออกมายังปล่องถ้ำ จากนั้นเสียงนั้นก็เงียบหายไป แสงสว่างก็ไม่มี ณ วันนี้นี่เองชาวบ้านก็ยังหารู้ไม่ว่าเป็นวันที่หลวงปู่สำเร็จธรรมแล้ว หลวงปู่ทั้งสองก็จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูคาต่ออีกประมาณ 1 ปีเศษ ก็แยกย้ายกันไปจาริกธรรม
หลังจากที่หลวงปู่ทั้งสองได้ไปจากถ้ำภูคาแล้วก็มีพระปฏิบัติมาตามหาหลวงปู่เพื่อที่จะปฏิบัติธรรมด้วยหลายองค์ เช่น หลวงปู่แหวน , หลวงปู่ชา , หลวงพ่อพรม , หลวงพ่อลี , อาจารย์อ่อน , อาจารย์กุมมา พระที่เดินทางมาที่ถ้ำแห่งนี้ต่างก็บอกกับชาวบ้านที่นี้ว่า หลวงปู่ทั้งสองนั้นได้สำเร็จธรรม ณ ถ้ำนี้แล้ว