ตามตำนานท้องถิ่นกล่าวไว้ว่า เขาโภคาหรือบางท่านเรียกเขาภูคา เป็นเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากเขาลูกอื่นๆ เดิมบริเวณนี้เป็นป่าต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6ได้ทรงโปรด
ให้สร้างทางรถไฟสายเหนือ กรุงเทพ -นครสวรรค์ ซึ่งทางรถไฟที่สร้างนี้ อยู่ห่างจากภูเขาลูกนี้ประมาณ 800 เมตร นายช่างที่คุมการก่อสร้างได้เห็นว่ามีภูเขาหินอยู่ใกล้เช่นนี้จึงคิดจะเอาหินที่เขาลูกนี้มาใช้ ในการก่อสร้างทางรถไฟ จึงได้สร้างทางรถไฟน้อยแยกออกมาถึงเขาลูกนี้เพื่อเตรีมจะขนหินที่ระเบิดได้ไปใช้ แต่เมื่อช่างทำการเจาะหินระเบิดก็ได้ยินแต่เสียงระเบิดดังกึกก้องหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีหินแตกออกมาสักก้อน นายช่างพยายามที่จะระเบิดสักเท่าไรก็ทำไม่สำเร็จ จึงได้กลับไปเอาหินที่เขาช่องแคตามเดิม
ความนี้ได้ทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องแปลก จึงสั่งให้ยุติการทำลายภูเขาลูกนี้พร้อมทั้งพระราชนามว่า "เขาโภคา" ซึ่งมีความหมายว่า "ภูเขาอันเป็นโภคสมบัติของแผ่นดิน" ที่สุดนายช่างที่ทำการก่อสร้าง ก็พาลูกน้องกลับไปเจาะระเบิดเอาหินจากเขาช่องแคมาใช้
ให้สร้างทางรถไฟสายเหนือ กรุงเทพ -นครสวรรค์ ซึ่งทางรถไฟที่สร้างนี้ อยู่ห่างจากภูเขาลูกนี้ประมาณ 800 เมตร นายช่างที่คุมการก่อสร้างได้เห็นว่ามีภูเขาหินอยู่ใกล้เช่นนี้จึงคิดจะเอาหินที่เขาลูกนี้มาใช้ ในการก่อสร้างทางรถไฟ จึงได้สร้างทางรถไฟน้อยแยกออกมาถึงเขาลูกนี้เพื่อเตรีมจะขนหินที่ระเบิดได้ไปใช้ แต่เมื่อช่างทำการเจาะหินระเบิดก็ได้ยินแต่เสียงระเบิดดังกึกก้องหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีหินแตกออกมาสักก้อน นายช่างพยายามที่จะระเบิดสักเท่าไรก็ทำไม่สำเร็จ จึงได้กลับไปเอาหินที่เขาช่องแคตามเดิม
ความนี้ได้ทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องแปลก จึงสั่งให้ยุติการทำลายภูเขาลูกนี้พร้อมทั้งพระราชนามว่า "เขาโภคา" ซึ่งมีความหมายว่า "ภูเขาอันเป็นโภคสมบัติของแผ่นดิน" ที่สุดนายช่างที่ทำการก่อสร้าง ก็พาลูกน้องกลับไปเจาะระเบิดเอาหินจากเขาช่องแคมาใช้