รูปภาพของฉัน
Thailand
วัดเขาภูคาจุฬามณี คือวัดเขาภูคา บ้างก็เรียกวัดถ้ำเขาภูคา ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นวัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2513 โดยการดูแลของ พระอธิการสุชาติ อุชุโก ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน วัดเขาภูคามีถ้ำอันศักดิ์สิทธิ์น่าเที่ยวชม บนยอดจะประดิษฐ์พระเกศแก้วจุฬามณีพระพุทธรูปครึ่งองค์ และรอยพระพุทธบาทพระสิทธัตถะ (เป็นพระพุทธบาทอันแท้จริงซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกแผ่นดินแล้ว) ซึ่งโดยรอบพระพุทธบาทจะครอบด้วยมณฑปขนาดใหญ่มีความสงบร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติเจริญสมาธิ จึงได้มีญาติโยมในท้องถิ่นและชาวจังหวัดใกล้เคียงหลั่งไหลกันมาปฏิบัติธรรม และเยี่ยมชมสิ่งประดิษฐ์อันงดงาม ที่ธรรมชาติและบรรพบุรุษได้บรรจงสร้างให้แก่ชนรุ่นหลัง

22 ตุลาคม 2551

นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์













นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท นางนพมาศมีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี ถวายตัวเป็นสนมทำหน้าที่ขับร้องถวาย นางนพมาศ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่ง ”ท้าวศรีจุฬาลักษณ์”


นางนพมาศ ได้เขียนหนังสือ”ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย

ตัวอย่าง บางตอนจากตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

1. ข้อปฏิบัติของข้าราชการฝ่ายใน "อย่าทำรีๆ ขวางๆ ให้เขาว่า อย่าทำเซ่อๆ ซ่าๆ ให้ท่านหัว อย่าประพฤติตัวเก้อๆ ขวยๆ ให้คนล้อ อย่าทำลับๆ ล่อๆ ให้เขาถาก อย่างทำโปกๆ ปากๆ ให้ท่านว่ากิริยาชั่ว จงแต่งตัวให้งามต้องตาคน จะประพฤติตนให้ต้องใจท่านทั้งหลาย จงฝากตัวมูลนายให้กรุณา จงระวังเวลาราชการ….."
2. การประดิษฐ์ โคมในพระราชพิธีจองเปรียง "ข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่า เป็นนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระจันทร์แจ่มแสงปราศจากเมฆมลทิน อันว่าดวงดอกชาติโกสุมประทุมมาลย์ มีแต่จะเบ่งบานกลีบรับแสงอาทิตย์ ถ้าชาติอุบลเหล่าใดบานผกาเกสรรับแสงพระจันทร์แล้วก็ได้ชื่อว่า ดอกกระมุท ข้าพระองค์จึงทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมทานทีอันเป็นที่พระบวรพุทธบาทประดิษฐาน"

ที่มา วรรณคดีสมัยสุโขทัย ของ เอกรัตน์ อุดมพร

เรื่องนี้แต่งด้วยร้อยแก้ว แต่มีคำประพันธ์ลักษณะเป็นกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่บ้าง ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ ไตรภูมิพระร่วง เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หนังสือนางนพมาศ"

นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วง มีอยู่ 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวันก็ถึงพระราชพิธีองเปรียงลอยพระประทีป(ลอยกระทง)นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้ นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดังเช่นที่เขียนไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน "

นี่คือนางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า